ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เอกสารประกอบการสอน วิชาวารสารศาสตร์เบื้องต้น

เอกสารประกอบการสอน วิชาวารสารสาสตร์เบื้องต้น                                       อ.เกศินี บัวดิศ
[บทที่.1  ความหมายวารสารศาสตร์ และปรัชญา]
วารสารสาสตร์วารสารศาสตร์ มาจากคำว่า วารสาร + ศาสตร์

วารสาร = หนังสือที่ออกเป็นคราว ๆ (ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
ศาสตร์ = คิดอย่างมีเหตุผล

วารสารศาสตร์ มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Journalism ตามความหมายในอินเตอร์เนชั่นแนล เอนไซโคลปีเดีย (Internation Encyclopedia) หมายถึง วิชาการที่ว่าด้วยสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่เนื้อหาข่าวสารต่อสาธารณะ
สรุป วารสารศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วนสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และวารสาร
ปรัชญาสูงสุดวารสารศาสตร์เบื้องต้น
            คือ  การปฏิบัติหน้าที่สนองสิทธิเสรีภาพในการแสวงหาการสื่อสารของประชาชน   เพื่อผลการตรวจสอบรัฐบาลอย่างเที่ยงตรง ในการทำหน้าที่ดังกล่าวถึงประสิทธิภาพ หนังสือพิมพ์จะต้องสิทธิและเสรีภาพ ในการสวงหาข่าวสารและรายงานข่าวสารได้อย่างอิสระ หากปราศจากเงื่อนไขยากที่จะทำหน้าที่อย่างโปร่งใส เที่ยงธรรม
            ปรัชญาทางวารสารสาสตร์   เป้ฯกลไกสำคัญในการสร้างความสมดุลให้แก่สังคม  ปัจจุบัน  คอยสอดส่องดูแลผลประโยชน์ของสังคมและสาธารณะ  หากปราศจากวิชาชีพวารสารศาสตร์ที่น่าเชื่อถือแล้ว  สังคมคงขาดที่พึ่งสำหรับพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน ผู้ด้อยโอกาส  และนำความระส่ำระสายให้  สังคมที่ไม่เป็นธรรม
ความสำคัญของการพิมพ์
Ø การนำเสนอข่าวสาร
Ø โฆษณาประชาสัมพันธ์
Ø การผลิตงานศิลปะ
Ø การบันทึกข้อมูลเพื่อการศึกษาค้นคว้า
Ø การนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการ

สาระสำคัญของงานวารสาร
 คือ  กระบวนการนำเสนอข่าวสารข้อมูลทีมีสารประโยชน์  เป็นข้อเท็จจริง   ความเป็นจริง
ที่เกิดขึ้น  สร้างสรรค์สังคม  เป็นผู้ชี้ทางสว่างให้ผู้อ่านสามารถใช้ข่าวสารเหล่านั้น ประกอบดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ  นำหนังสือพิมพ์ที่ต้องจะต้องปฏิบัติ ภารกิจความเป็นนกวารสารศาสตร์ให้สังคม สามารถพัฒนาได้อย่างถูกทิศทางตามสิทธิเสรีภาพ การรับรู้ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
พันธกิจของนักวารสารศาสตร์
            เกี่ยงเนื่องโดยตรงกับการพิทักษ์มีเสรีภาพการรับรู้ข่าวสาร  ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิของมนุษยชนคือ สิทธิในการรับรู้  สอทธิการเข้าถึงข่าวสารแหล่งสาร เสราภพ ด้านข่าวสาร  และการแสดงความคิดเห็นของปัจเจกชนตามหลักการประชาธิปไตย  ปรัชญาดังกล่าวนั้น นำไปสู่ การกำหนดบทบาทหน้าที่พึ่งปฎิบัติของสื่อมวลชน ในฐานะกลางของสังคม เพื่อสนองต่อสิทธิและเสรีภาพ ที่ประชาชนมีอยู่ ในฐานะสื่อข่าวสารหนังสือพิมพ์ มีหน้าที่พิทักษ์ปกป้องสิทธิและเสรีภาพอย่างมีเกียรติสมศักดิ์ศรีได้รับความไว้วางใจให้เป็นกระบิดเสียงของประชาชน

หน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชน
            สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการสื่อสารของสังคม ด้วยศักยภาพของสื่อมวลชนจึงทำให้สื่อมวลชนยิ่งทวีความสำคัญในฐานะสื่อกลางของการสื่อสาร ดังนั้นหากกล่าวถึงหน้าพื้นฐานของสื่อมวลชนจึงสมควรอ้างอิงหน้าที่สำคัญพื้นฐานของการสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจเบื้องต้น
            ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell)  นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันได้อธิบายหน้าที่ของการสื่อสารไว้ดังนี้
            1. การสังเกตการณ์สภาพแวดล้อม (Surveillance of the Environment) นั่นคือการเฝ้าดูแลสอดส่องเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งภัยอันตรายที่อาจส่งผลกระทบกับสมาชิกในสังคม
            2. การประสานสัมพันธ์ส่วนต่างๆ ของสังคม (Correlation of the Parts) นั่นคือการสื่อสารช่วยให้สมาชิกกลุ่มต่างๆ ในสังคมมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน และอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อย
            3. การถ่ายทอดมรดกทางสังคม (Transmission of Social Inheritance) นั่นคือช่วยให้อนุชนรุ่นหลังมีการสืบทอดวัฒนธรรมต่อๆ กันไปโดยไม่ขาดตอน เปรียบเสมือนการให้การศึกษา
            นอกจากหน้าที่พื้นฐานทั้ง 3 ประการแล้ว ชาร์ล  ไรท์ (Charles R. Wright)  ยังได้เสนอหน้าที่ในการให้ความบันเทิงเพิ่มเติมด้วย
            สื่อมวลชนในฐานะสื่อหรือเครื่องมือในการสื่อสารของสมาชิกในสังคมจึงมีหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ คือ
            1. หน้าที่ในการให้ข่าวสาร
            2. หน้าที่ในการให้ความคิดเห็น
            3. หน้าที่ในการให้การศึกษา และ
            4. หน้าที่ในการให้ความบันเทิง

            1. หน้าที่ในการให้ข่าวสาร การให้ข่าว ข่าวสาร นับเป็นหน้าที่แรกของสื่อมวลชนที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกล่าวในบริบทของการสื่อสาร หน้าที่การให้ข่าวสารนับเป็นหน้าที่อันดับแรกที่เก่าแก่และยาวนานที่สุดของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อสังคมมนุษย์ขยายขอบเขตมากขึ้นต้องอาศัยสื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร หน้าที่การให้ข่าวและข่าวสารจึงยังคงเป็นหน้าที่ที่สำคัญลำดับแรกของสื่อมวลชน
            การให้ข่าวและข่าวสารของสื่อมวลชนด้วยการเก็บรวบรวม ประมวล วิเคราะห์ ข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ภาพ เสียง เหตุการณ์ต่างๆ เพื่อนำไปเผยแพร่เป็นข่าวให้สมาชิกในสังคมได้ทราบถึงสภาพแวดล้อมของสังคมนั้นๆ  เพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นและความสนใจของบุคคล ช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย ส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาตัวเองของสมาชิกในสังคม การให้ข่าว ข่าวสาร อาจนับได้ว่ามีประสิทธิผลในการเสริมสร้างทางปัญญาของสมาชิกในสังคมอีกด้วย
            2. หน้าที่ในการแสดงความคิดเห็น นอกจากการให้ข่าว ข่าวสารแล้วสื่อมวลชนยังต้องมีหน้าที่ในการอธิบาย แปลความหมาย ตีความ และวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความหมายของข่าว ข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นบทบรรณาธิการทางหน้าหนังสือพิมพ์ที่แสดงถึงความคิดเห็น สารคดีเชิงข่าวทางโทรทัศน์ที่เสนอภูมิหลังของข่าวหรือเหตุการณ์และข้อวิพากษ์วิจารณ์ บทวิเคราะห์ข่าวทางวิทยุกระจายเสียงในการเปิดเผยสาเหตุของเหตุการณ์ และคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต การแสดงความคิดเห็นเหล่านี้จัดเป็นหน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชนที่จะต้องทำเพื่อประโยชน์ของสมาชิกในสังคม รวมทั้งการเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นของสังคมเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมใจกัน
            3. หน้าที่ในการให้การศึกษา การให้การศึกษานับเป็นการเสนอสาระความรู้อย่างมีระบบ มีวิธีการ เพื่อให้อยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมได้ การให้การศึกษานี้สื่อมวลชนสามารถให้ได้ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย อันหมายรวมถึงการถ่ายทอดวัฒนธรรม ค่านิยม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี บทบาท หน้าที่ ของสมาชิกในสังคมด้วย สื่อมวลชนจะเป็นผู้นำสารในลักษณะของความรู้และประสบการณ์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสติปัญญา การปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ และการปรับภูมิปัญญาเข้าสู่มาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน
            4. หน้าที่ในการให้ความบันเทิง  สื่อมวลชนมีหน้าที่ตอบสนองทางด้านจิตวิทยาแก่สมาชิกในสังคมได้เป็นอย่างดี ด้วยการช่วยคลายเหงาเพื่อทดแทนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลซึ่งมีน้อยลง ช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้พักผ่อนและมีกำลังใจเพิ่มขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาเยียวยาภาวะต่างๆ ภายในจิตใจ เช่น ความเศร้าหมอง ความวิตกกังวล ความผิดหวัง ช่วยให้หลีกหนีปัญหาต่างๆ ให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และลดความตึงเครียดของจิตใจ ซึ่งสื่อมวลชนนำเสนอในรูปของ ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ รายการเพลงทางวิทยุกระจายเสียง นวนิยาย เรื่องสั้นในสารคดี คอลัมน์บันเทิงต่างๆ  ในหนังสือพิมพ์

วารสารศาสตร์ สายพันธุ์ใหม่
ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์
             แม้ว่าข้อถกเถียงเรื่องวารสารศาสตร์ตายแล้วจะยังหาข้อสรุปไม่ได้ เนื่องด้วยผู้คนจำนวนหนึ่งเชื่อว่า สื่อสิ่งพิมพ์ยังมีเสน่ห์และมีลักษณะเด่นเฉพาะที่สื่อใหม่ (New Media) ทั้งหลายมิอาจทดแทน
 ในขณะที่อีกหลายคนมองปรากฏการณ์ถดถอย ล้มหายตายจากของสื่อสิ่งพิมพ์ยักษ์ระดับโลก ว่าเป็นภาพสะท้อนถึงวิกฤตครั้งสำคัญของวารสารศาสตร์
 ไม่ว่าใครจะเชื่ออย่างไรก็ตาม แต่ทุกคนมิอาจปฏิเสธว่า การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน โดยเฉพาะการเติบโตของ Social Media อย่าง Facebook Twitter YouTube Blog ฯลฯ ส่งผลกระทบอย่างแรงต่ออุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ ทำให้สื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ประเภทนี้จำต้องปรับตัวก้าวสู่โลกดิจิตอลอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง
 ใช่แล้วครับ...วารสารศาสตร์แบบเก่ากำลังถูกตั้งคำถามจากสังคมและอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่วารสารศาสตร์สายพันธุ์ใหม่
 อย่างเมื่อเร็วๆ นี้ ผมมีโอกาสเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการกับชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศพร้อมๆ กับคณาจารย์ด้านวารสารศาสตร์อีกหลายสถาบัน ในการพูดคุยกันพวกเราทุกคนทั้งนักวิชาชีพและนักวิชาการด้านสื่อมวลชนต่างเห็นพ้องและตระหนักถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของวารสารศาสตร์
 ในสายวิชาชีพด้านวารสารศาสตร์หลายแห่ง ทั้งสื่อหนังสือพิมพ์และสื่อนิตยสารเริ่มตื่นตัว มีการขยับปรับองค์กร พัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ
 คำถามคือสายวิชาการ...โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาด้านวารสารศาสตร์ของเมืองไทยล่ะครับ เท่าทันกับการเปลี่ยนโฉมสู่วารสารศาสตร์ยุคใหม่หรือไม่
 ในที่ประชุมวันนั้น เหล่าอาจารย์จากหลากสถาบัน ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน ต่างถอดหัวโขน เปิดใจแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
 “...มหาวิทยาลัยของผมปิดสาขาวารสารศาสตร์ไปแล้วครับ เพราะมีเด็กเรียนไม่กี่คนเอง เปิดไปก็ไม่คุ้มทุน...
 “...ของมหาวิทยาลัยพี่ก็มีคนเรียนน้อยลงมาก เราไม่มีโอกาสเลือกเด็กดีๆ เก่งๆ เลย ตอนนี้กลายเป็นว่าเด็กไม่มีที่เรียนค่อยมาลงเรียนวารสารศาสตร์ เด็กบางคนแทบไม่เคยอ่านหนังสือพิมพ์มาก่อนเลย พอคุยเรื่องข่าวก็ไม่รู้เรื่อง..
 “...เด็กของหนูบอกว่า เรียนวารสารฯไปก็ตกงาน สู้เรียนโฆษณา เรียนวิทยุ ทีวี ไม่ได้ ฟลุ้กๆได้ออกทีวีเป็นคนดัง รวยเละ...ฯลฯ
 สถานการณ์การเรียนการสอนด้านวิชาวารสารศาสตร์ของไทยอยู่ในช่วงวิกฤตยิ่ง ทั้งในเชิงปริมาณตัวเลขยอดนักศึกษาที่ตกฮวบ หรือในเชิงคุณภาพของผู้เรียน ที่ส่วนใหญ่มาเรียนเพียงหวังแค่ใบปริญญา
 มันช่างต่างจากในหลายๆ ประเทศที่คนเรียนด้านวารสารศาสตร์คือเด็กหัวกะทิ มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญด้านภาษา ด้านการสื่อสาร สนใจปัญหาข่าวสารบ้านเมือง และที่สำคัญคือเป็นคนชอบอ่าน ชอบการขีดเขียน ชอบตั้งคำถามกับเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยพื้นฐานของนักวารสารศาสตร์ที่ดี
 ด้วยเหตุนี้ หลายสถาบันการศึกษาจึงเลือกตัดสินใจปิดสาขาวิชาวารสารศาสตร์ หรือปรับเปลี่ยนชื่อสาขา ปรับหลักสูตรให้ดูเร้าใจ เพื่อหวัง ขายให้โดนใจผู้เรียนมากขึ้น
 พูดคุยถึงผู้เรียนกันไปแล้ว ผู้สอนด้านวารสารศาสตร์ล่ะครับ เป็นอย่างไรบ้าง...
 “...ถ้าให้หนูพูดจริงๆ นะคะ อาจารย์ส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยของหนูยังกอดตำราเก่าอยู่เลย กี่ปีกี่ปีก็สอนแบบเดิม...
 “...ของผมก็เหมือนกัน อย่างอาจารย์สอนถ่ายภาพยังสอนแต่กล้องฟิล์มม้วน บังคับให้นักศึกษาล้างอัดฟิล์มในห้องมืดตลอดทั้งเทอม เพราะเขาทำโฟโต้ช็อปไม่ได้ ทั้งที่เด็กเขาอยากเรียน อยากรู้ คณบดีไล่ให้ไปเรียนเพิ่มก็ไม่ไป เป็นเหมือนไม้แก่ดัดยาก...
 “...ที่มหาวิทยาลัยพี่พวกเจ้าที่เยอะ พวกนี้ไม่ยอมให้ใครมายุ่งวิชาของเขานะ ใครเสนอให้ปรับหลักสูตร ปรับรายวิชาให้ทันสมัย เจ๊แกไม่ยอมลูกเดียว เข้าทำนองวิชาข้าใครอย่าเตะ...ฯลฯ
 นี่แหละครับคือปัญหาสำคัญของแวดวงการศึกษาไทย เมื่อนักวิชาการจำนวนหนึ่ง (มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบัน) ไม่พัฒนาตัวเองให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม มองวิชาวารสารศาสตร์แบบคับแคบจำกัดอยู่แต่เฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์แบบดั้งเดิม
  ทั้งที่ทุกวันนี้ ภูมิทัศน์ของวารสารศาสตร์ขยายกว้างกว่าสื่อสิ่งพิมพ์เพียงอย่างเดียว
 เพราะปัจจุบันนักข่าวไม่เพียงแต่ทำข่าวป้อนสื่อสิ่งพิมพ์เพียงอย่างเดียว หากแต่เนื้อหาข่าว(Content) ยังสามารถถูกถ่ายโอน ดัดแปลงออกสู่สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ ตลอดจนสื่อออนไลน์ หรือส่งผ่านทางโทรศัพท์มือถือ หลากหลายรูปแบบ
 ดังนั้น ผู้สอนด้านวารสารศาสตร์จึงต้องเร่งเรียนรู้นวัตกรรมในสายงานวารสารศาสตร์ เพื่อถ่ายทอดไปสู่ลูกศิษย์ลูกหา
 แน่นอนว่า เรื่องไม่รู้ ไม่ผิดหรอกครับ เพราะอาจารย์จำนวนไม่น้อยเติบโตมาในยุคอะนาล็อก แต่เมื่อโลกขยับไปสู่ยุคดิจิตอลแล้ว หากอาจารย์ยังยึดติดกับรูปแบบ เนื้อหา การสอนแบบเดิมๆ ลูกศิษย์จบออกไปก็ไม่สามารถเดินเข้าสู่วิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
 ทีนี้ มาคุยเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวารสารศาสตร์กันหน่อยนะครับ อันที่จริง...แทบทุกสถาบันมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนทุก 3-4 ปี เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด อืม...แต่นั่นเป็นภาพลวงตาครับ
 โดยข้อเท็จจริงแล้ว มีเพียงไม่กี่สถาบันการศึกษาด้านวารสารศาสตร์ของเมืองไทยหรอกนะครับที่ปรับหลักสูตรโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของตลาด หรือมองไปข้างหน้าคาดการณ์ถึงความเป็นไปของนักวารสารศาสตร์ในอนาคต
สถาบันการศึกษาด้านวารสารศาสตร์หลายๆ แห่งของเมืองไทยยังตีกรอบวารสารศาสตร์อย่างคับแคบว่าจะมุ่งผลิตบัณฑิต ป้อนสู่อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์เพียงอย่างเดียว
 บางแห่งทันสมัยขึ้นมาหน่อยมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับสื่อใหม่ อย่างสื่ออินเตอร์เน็ต การทำเว็บไซต์ หรือเพิ่มวิชารายงานข่าวออนไลน์เข้าไปในหลักสูตร แต่รูปแบบการเรียนการสอนเกี่ยวกับการรายงานข่าวยังยึดติดกับโครงสร้างแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพียงอย่างเดียว
 ทั้งที่ธรรมชาติของสื่อใหม่คือการผนวก หลอมรวม (Convergence) จุดเด่นของสื่ออันหลากหลายเข้าด้วยกัน
แต่น่าเสียดายว่า หลักสูตรวารสารศาสตร์ของไทยส่วนใหญ่ยังขาดการเรียนการสอนแบบ Convergence Journalism
 นั่นคือ การสอนให้นักศึกษาสามารถใช้สื่อใหม่ในการรวบรวมข้อมูลข่าว แสดงความคิดเห็น รายงานข่าว หรือบอกเล่าปรากฏการณ์ที่นักศึกษาพบเจอได้อย่างเป็นอิสระ สอดคล้องต่อธรรมชาติของสื่อดิจิตอล
 นอกจากนั้น หลักสูตรวิชาวารสารศาสตร์ของไทยยังต้องก้าวข้ามมายาคติแบบยุคเดิมที่มองว่า นักข่าวหรือนักวารสารศาสตร์คือผู้ส่งสาร มีอำนาจในการเลือกส่งหรือไม่ส่งข้อมูลข่าวสารใดๆ ก็ได้ให้กับผู้รับสาร
ส่วนผู้รับสาร ล้วนอยู่ในสภาพของการถูกกระทำ (Passive) จำต้องรับข่าวสารอย่างจำนน หากใครไม่เห็นด้วย ต้องการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่นำเสนอในข่าว พวกเขาทำได้อย่างมากคือการเขียนจดหมายหรือโทรศัพท์ไปร้องเรียน ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่วนกองบรรณาธิการข่าวจะตอบสนองต่อข้อร้องเรียนอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
 แต่เดี๋ยวนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคสื่อ โดยเฉพาะคนเมืองเปลี่ยนไป อันเป็นผลมาจากนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้ผู้เสพสื่อ หรือผู้รับสาร ไม่ได้ทำหน้าที่แค่นั่งเฉยๆ คอยรอรับข้อมูล ข่าวสารที่ส่งผ่านมาทางสื่ออย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ผู้เสพสื่อสามารถกลายสภาพเป็นผู้กระทำ (Active) หรือผู้ส่งสารไปด้วยในตัว
พูดง่ายๆ คือ แทนที่คนอ่านข่าวจะนั่งเฉยๆ รับข้อมูลฝ่ายเดียว ก็สามารถเขียนหรือนำเสนอข้อมูล ข่าวสารโต้แย้งกลับไปยังสื่อหรือส่งสารไปถึงนักข่าวอีกด้านหนึ่ง ผ่าน Blog Twitter Facebook Webboard ฯลฯ ได้เช่นกัน
ขณะเดียวกันการส่งสารดังกล่าวยังสามารถส่งข้อมูลข่าวสารไปยังสาธารณชน (Public) หรือชุมชน (Community) ได้ร่วมรับรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันอีกด้วย
 ด้วยเหตุนี้ หลักสูตรวารสารศาสตร์แนวใหม่ควรสอนให้นักศึกษาหัดรู้จักใช้สื่อใหม่ โดยเฉพาะ Social Media ดึงผู้บริโภคสื่อให้มามีส่วนร่วม (Collaborative) ในเนื้อหาข่าวให้มากที่สุด เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์เนื้อหาข่าวให้มีมุมมองรอบด้านมากที่สุด
 อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญเหนือกว่าการเรียนการสอนด้านเทคนิค คือการสอน หลักคิด มุมมอง ต่อตนเอง ต่อสังคมและโลก เพื่อให้นักวารสารศาสตร์รุ่นใหม่สามารถวิเคราะห์ และนำเสนอเรื่องราวต่างๆได้อย่างมีเอกลักษณ์
 นอกจากนั้น ยังต้องบ่มเพาะให้นักศึกษาวารสารศาสตร์ตระหนักถึงจริยธรรมทางวิชาชีพ และสานต่อภารกิจในการเป็นหมาเฝ้าระวังภัยให้กับสังคม
 กล่าวโดยสรุป นักวารสารศาสตร์สายพันธุ์ใหม่นอกจากจะต้องรอบรู้ คิดเป็น เก่งเทคโนโลยีแล้ว ยังต้องมีหัวใจคุณธรรมอีกด้วย

 ข้อมูลอ้างอิง จาก
   รศ.มาลี บุญศิริพันธ์  . วารสารศาสตร์เบื้องต้น

ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ .วารสารศาสตร์ สายพันธุ์ใหม่  (ออนไลน์)  http//: www.brandage.com/Modules/.../Article/ArticleDetail.aspx?... - แคช
สืบค้นเมื่อวันที่  1มิ.ย.2554

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบบทดสอบก่อนเรียนข้อมูลทางการตลาดโดยการวิจัย

  แบบทดสอบก่อนเรียนวิชาการหาข้อมูลทางการตลาด เรื่องข้อมูลทางการตลาดโดยวิจัย     จง เลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว 1. ข้อใดคือความหมายของการวิจัยตลาด ก . การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข . การเก็บรวบรวมข้อ มูล บันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล อย่างมีระบ ค . การนําวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหาทางการตลาด ง . การนําผลของข้อมูลมาใช้ในการแก้ปัญหาทางการตลาด จ . การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลทั่วๆไป   2 ข้อใดคือลักษณะของการวิจัยตลาดที่เหมือนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ก . มีระ บบ ข . มีหลักฐาน ค . พิสูจน์ได้ ง . การควบคุม จ . ถูกทุกข้อ   3. ข้อใดคือความสําคัญของการวิจัยตลาดต่อกิจการธุรกิจ ก . เพิ่มยอดขาย ข . ลดต้นทุนทางการตลาด ค . ทําให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ง . เพิ่มขวัญและกําลังใจให้กับพนักงานบริษัท จ . ถูกทุกข้อ     4. ประโยชน์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนของการใช้การวิจัยตลาดช่วยในการดําเนินธุรกิจคือข้อใด ก . ทําให้ได้แนวความคิดใหม่ๆเสมอ ข . สามารถผ

ใบงาน 5

กิจกรรม  :  ใบงาน  1. ศึกษาค้นคว้าสินค้าที่มีการวิจัยการตลาด พร้อมอ้างอิงจากหน่วยงานที่ทำการวิจัย ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ 2. นำรูปสินค้าที่ได้มาจากวิจัยมาประกอบการอธิบาย ........................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................... ............................................................................................................
การหาข้อมูลทางการตลาด ชื่อวิชา ( Course Title )                     การหาข้อมูลทางการตลาด ชื่อภาษาอังกฤษ                              (Basic Marketing Information). วิชาที่ควรเรียนมาก่อน รหัสวิชา           Coures Nummer )       2202-2002 เวลาเรียน( Number of Period/Week )    4 คาบ/สัปดาห์( Period / Week ) จำนวนหน่วยกิต ( Credit )                        3  หน่วยกิต ( Credit ) ปีการศึกษา                                     ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา   2560 ระดับชั้น( Level )                              ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 สาขาการตลาด ประเภทวิชา                                    บริหารธุรกิจ อาจารย์ผู้สอน                                  อาจารย์เกศินี บัวดิศ ช่องทางติดต่อสื่อสาร                           เบอร์โทรติดต่อ   0999014638                                                     Email:kesinee770@gmail.com ...................................................................................   คำอธิบายรายวิชา                    ศึกษาแ